คุณเลิกเป็นเพื่อนกับคนที่ไม่รู้จักไปกี่คนแล้ว ? เนื่องในโอกาสครบรอบวันอันเฟรนด์ ขอพาไปทำความรู้จักกับที่มาของวันแห่งการลบบัญชีเพื่อนบนเฟซศบุ๊กให้มากขึ้น คุณมีเพื่อนที่วันๆ ไม่เคยเจอหน้ากันเลย แต่พอมีเรื่องเดือดร้อนก็ทักอินบ็อกซ์มาขอยืมเงินคุณหรือไม่ ?
หรือ เพื่อนที่วันๆ เอาแต่บ่นเรื่องต่างๆนานา สร้างความท็อกซิก (Toxic)
บนหน้าสื่อโซเชียลให้กับคุณอยู่บ่อยๆ ทีมงาน The Thaiger อยากจะบอกว่าวันนี้เป็นโอกาสดีที่คุณจะได้กำจัดพวกเขาเหล่านี้ออกจากวงจรชีวิตโซเชียลของคุณเสียที “วันอันเฟรนด์” (National Unfriend Day) หรือวันที่เชิญชวนให้ผู้คน “ลบเพื่อน” ที่ไม่พึงประสงค์บนโซเชียลมีเดียทิ้งไป เพื่อคัดกรองให้เหลือแต่เพื่อนที่เรารู้จัก รักและห่วงใยเราจริงๆ เท่านั้น
โดยวันอันเฟรนด์นี้ ริเริ่มขึ้นโดย จิมมี คิมเมล พิธีกรรายการทีวี และนักแสดงตลกชื่อดัง ซึ่งเรียกร้องให้ชาวโซเชียลหันมาอันเฟรนด์ (Unfriend) เพื่อนไม่พึงประสงค์ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2010 ก่อนจะแพร่หลายกลายเป็นธรรมเนียมประจำปีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สำหรับความตั้งใจเริ่มแรกของคุณจิมมีนั้น เนื่องจากต้องการต่อต้านเทรนด์โซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะกับเฟซบุ๊กที่ในเวลานั้นผู้คนต่างขยันกดปุ่ม “เพิ่มเพื่อน” โดยไม่สนใจเลยว่าเพื่อนจำนวนหลักร้อยหลักพันที่เพิ่มเข้ามานั้นคือคนที่รู้จักกันจริงๆ หรือเปล่า
เริ่มจากคุณลองทบทวนเพื่อนในเฟซบุ๊กที่คุณมี ณ ตอนนี้ทีละคนและค้นหาว่าใครที่สำคัญกับคุณจริงๆ เพื่อนสมัยมัธยมที่คุณเคยคุยกับเขาครั้งสุดท้ายตอนทำทดลองในชั่วโทงมงวิทยาศาสตร์์ ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่ ซึ่งตอนแรกนั้นอาจจะเป็นเรื่องยากอยู่สักหน่อยที่จะทำการลบเพื่อนออกไป แต่จากนั้นในบางเวลาคุณจะรู้สึกถึงสิ่งที่ดีขึ้น ดังคำที่ว่า “คุณภาพสำคัญกว่าปริมาณ”
เชื่อมต่อกับเพื่อนของคุณในชีวิตจริง ไม่ว่าตอนนี้คุณกำลังไถหน้าฟีดโทรศัพท์มือถือ หรือ นั่งเปิดเฟซบุ๊กอยู่บนหน้าคอมพิวเตอร์ หากคุณมีเวลาว่าง ขอให้คุณปิดหรือชักปลั๊กคอมพิวเตอร์ในชั่วโมงที่คุณมีเวลาว่างจริงๆ แล้วออกไปหาเพื่อนของคุณแบบเห็นหน้า พบเจอทักทายกันแบบตัวเป็นๆ ชวนกันไปทานข้าว หรือดูหนังกับเพื่อนที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุข ไม่ใช่เพื่อนที่มากดไลค์คุณบนหน้าโปรไฟล์เฟซบุ๊กของคุณเท่านั้น
ย้ายกลุ่มคนเหล่านี้ไปที่ LinkedIn สำหรับคนที่ยังแยกความสัมพันธ์กับเพื่อนแลัธุรกิจไม่ออก ทางเลือกของ LinkedIn แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียวที่เน้นไปในด้านอาชีพและธุรกิจ คือ คำตอบนั้น คุณจะสามารถลบบัญชีคนรู้จักในเฟซบุ๊กซึ่งส่วนใหญ่ไม่ใช่เพื่อนแต่เป็นคนที่คุณรู้จักในการทำงานมาอยู่ในแพลตฟอร์มนี้ ในกรณีที่คุณไม่กล้าตัดสินใจลบบัญชีของบุคคลเหล่านี้ออกจากเพื่อนในเฟซบุ๊กอย่างสิ้นเชิง
ทางการ อินเดีย สั่งปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัย และระงับโครงการก่อสร้างชั่วคราว หลัง PM 2.5 เล่นงานหนัก ส่งผลให้คุณภาพาอากาศเลวร้าย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน สำนักข่าว BBC รายงานว่า ทางการในกรุงเดลี เมืองหลวงของประเทศอินเดียได้สั่งปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัย อย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากมลพิษทางสภาพอากาศ PM 2.5 ที่แย่ลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ผ่านพ้น เทศกาลแห่งแสงสว่าง หรือ ดิวาลี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน
ไม่มีไทย! ไฟเซอร์ ไฟเขียว 95 ประเทศผลิตยา ‘Paxlovid’ ช่วยรักษาโควิด
ไฟเซอร์ ไฟเขียว 95 ประเทศผลิตยา ‘Paxlovid’ ช่วยรักษาโควิด ไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์สูตรยา ในอาเซียน ไม่รวมไทย บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ ไฟเซอร์ ยาเม็ด – บริษัทผลิตวัคซีนโควดอย่าง ไฟเซอร์ ( Pfizer Inc.) ได้บรรลุข้อตกลงกับ Medicines Patent Pool (MPP) ซึ่งเป็นองค์กรสาธารณสุขที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ ในการเพิ่มการเข้าถึงยาช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิดสำหรับผู้ที่ยากจนและ ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยอนุญาตให้ผู้ผลิตยาสามัญสามารถผลิต ยาแพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) ยาต้านไวรัสโควิด-19 ชนิดรับประทานของไฟเซอร์ได้
ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงใบอนุญาตหลักระหว่างไฟเซอร์และ MPP ผู้ผลิตยาสามัญที่ผ่านการรับรองทั่วโลกที่ได้รับใบอนุญาตสามารถนำยาดังกล่าวไปแจกจ่ายจำหน่ายยัง 95 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมถึงประมาณ 53% ของประชากรโลก ซึ่งรวมถึงประเทศที่มีรายได้ต่ำและระดับกลางล่างทั้งหมด และประเทศที่มีรายได้ระดับกลางบนใน กลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา (Sub-Saharan Africa) ตลอดจนประเทศที่เปลี่ยนสถานะจากระดับกลางล่างเป็นระดับกลางบนในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
ไฟเซอร์จะไม่เก็บค่าลิขสิทธิ์จากการขายในประเทศที่มีรายได้ต่ำ และจะยกเว้นค่าลิขสิทธิ์เพิ่มเติมจากการขายในทุกประเทศที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงนี้ ตราบเท่าที่โควิด-19 ยังคงจัดอยู่ในประเภทภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศรับรองโดยองค์การอนามัยโลก
ที่น่าสนใจคือ ในกลุ่มประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) มี 6 ประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือดังกล่าว คือ ลาว เมียนมา กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ส่วนประเทศที่ไม่เข้าเกณฑ์คือ บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย
ไฟเซอร์ เปิดเผยว่า ผลการทดลองพบว่า ยาแพ็กซ์โลวิดสามารถลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโควิด-19 ในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ถึง 89% โดยสูงกว่ายาโมลนูพิราเวียร์ของเมอร์ค ซึ่งมีประสิทธิภาพอยู่ที่ 50%
เครดิต : รีวิวซีรี่ย์เกาหลี | ลายสัก | รีวิวร้านอาหาร | โทรศัพท์มือถือ ราคาถูก | เรื่องย่อหนัง